พ่อหลวงสอนใว้...พอเพียง คือ ความพอดี ของชีวิต

พ่อหลวงสอนใว้...พอเพียง คือ ความพอดี ของชีวิต
ขอให้พระคุ้มครองคนทำความ...ดี

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

ขอสนับสนุนขับเคลื่อนให้ความรู้ เรื่อง แร่ใยหิน” มีสารก่อมะเร็ง


 ผ้าเบรค..ไร้ใยหิน     ปลอดสารก่อมะเร็ง
       ชลบุรี : สวทช. หนุนบริษัทคอมแพ็คฯ สร้างนวัตกรรม ผ้าเบรกไร้ใยหินรณรงค์เลิกใช้ผ้าเบรกแร่ใยหิน เพราะมีสารก่อมะเร็ง นำร่องแห่งแรก ติดตั้งรถสองแถวใน เมืองพัทยากว่า 700 คัน มูลค่ากว่า 4 ล้านบาท พร้อมขยายสู่พื้นที่ท่องเที่ยวทั่วประเทศ หวังลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
        
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ร่วมกับ บริษัท คอมแพ็ค อินเตอร์เนชั่นแนล (1994) จำกัด จัดงาน "กรีน พัทยา บาย คอมแพ็ค" (Green Pattaya by Compact) โปรโมท นวัตกรรม เพื่อสิ่งแวดล้อม ผ้าเบรกไร้ใยหิน ณ ลานกิจกรรมหน้าห้างเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 54 ที่ผ่านมา
          ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รมว.วท. กล่าวว่า นวัตกรรม ผ้าเบรกไร้ใยหิน เป็นเทคโนโลยีที่ บริษัท คอมแพ็ค อินเตอร์เนชั่นแนล (1994) จำกัด ได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมไทย (ไอแท็ป : ITAP) สวทช. ให้สามารถพัฒนาออกแบบ และปรับปรุงสูตรการผลิต จนสามารถผลิตจริงในโรงงาน โดยคุณภาพของผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับเทียบเท่าสูตรผ้าเบรกของผู้ผลิตชิ้นส่วน ที่ส่งโรงงานประกอบรถยนต์โดยตรง หรือ โออีเอ็ม (Original Equipment Manufacturer : OEM) ซึ่งปัจจุบัน บ.คอมแพ็คฯ ได้เพิ่มยอดขาย ในฐานะผู้ผลิตผ้าเบรกให้กับบริษัทรถยนต์ชั้นนำ
            ดร.วีระชัย กล่าวว่า ทางโครงการได้ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาถ่ายทอดเทคโนโลยีวัตถุดิบไร้ใยหิน (NON Asbestos Organic : NAO) ให้กับบริษัท นำไปใช้พัฒนาการออกแบบ พร้อมกับพัฒนาปรับปรุงสูตรการผลิต จนได้คุณสมบัติตามความต้องการ และสามารถนำสูตรดังกล่าวมาผลิตจริงในโรงงานได้ อันเป็นประโยชน์กับสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกระแสที่กำลังได้รับการกล่าวถึงอย่างมาก ในสังคมไทยและสังคมโลก
        นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเมืองพัทยา กล่าวว่า หาก ทุกคนยังใช้ผ้าเบรกที่มีแร่ใยหินนั้น จะทำให้มีละอองฝุ่นสีดำ เกิดการปนเปื้อนในอากาศ เมื่อสูดดมเข้าร่างกายจะเป็นผลร้าย ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ตามมา   (ซึ่งทั่วโลกได้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินแล้ว)
       ทั้งนี้ การใช้นวัตกรรม ผ้าเบรกไร้ใยหิน นั้นจะทำให้ลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม และเป็นผลดีต่อสุขภาพ นายอิทธิพลจึงได้ประชุมร่วมกันกับรถสองแถว ในเมืองพัทยา เพื่อใช้ผ้าเบรกไร้ใยหิน ลดฝุ่นละออง ที่เกิดจากผ้าเบรกใยหิน นับเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับเมืองพัทยา อีกทั้ง อาจจะขยายจากรถสองแถว ไปยังรถของพี่น้องประชาชน รถทัวร์ รถบัส ที่บริการรับนักท่องเที่ยวต่อไป
        “หากปฏิบัติได้ทั้งเมืองพัทยา - บางแสน  ถือเป็นเรื่องดี และเป็นจุดขายของเมืองพัทยา-บางแสน  ในด้านของการรักษาสิ่งแวดล้อม แม้อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ มีรถไม่กี่ร้อยคัน แต่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น เป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตามสำหรับคนในประเทศอีกด้วยนายอิทธิพล กล่าว
        ขณะ นี้ได้เริ่มต้นนำผ้าเบรกไร้ใยหิน มาใช้กับรถสาธารณะในเมืองพัทยากว่า 300 คัน จากทั้งหมดกว่า 700 และจะดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งหมดต่อไป
         อย่างไรก็ดี ดร.วีระชัย บอกว่า การจัดกิจกรรมสนับสนุนผ้าเบรกไร้ใยหิน เพื่อใช้กับรถรับจ้างสาธารณะในเมืองพัทยา ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวชั้นนำของประเทศไทยที่ได้รับการกล่าวถึงไป ทั่วโลก จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ในการลดผลกระทบด้านมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม โดยจะส่งผลดีต่อธุรกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
       
       ที่สำคัญโครงการดังกล่าว จะต่อยอดไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร แต่อาจจะทำได้บางส่วน เนื่องจากรถสาธารณะมีเป็นจำนวนมาก
รมว.วท.จึงอยากให้ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม
       ทางด้าน นายเกษม อิสระพิทักษ์กุล รองกรรมการผู้จัดการ บ.คอมแพ็คฯ กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ผ้าเบรกไร้ใยหินนี้ มีประสิทธิภาพ สร้างความปลอดภัยต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อต้องการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทั้งยังมุ่งหวังจะสร้างสมดุลทางสังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง บริษัท สามารถผลิตผ้าเบรกไร้ใยหิน จนได้รับรางวัล "ไอแท็ป อะวอร์ด" (ITAP Award) ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมยอดเยี่ยม (Best Green Product Development) จาก สวทช.
                                                           ****************
                                   แร่ใยหิน  เป็นสารอันตรายก่อให้เกิดโรคมะเร็ง 
                                                 แร่ใยหิน  อีกหนึ่งภัยใกล้ตัวที่ต้องระวัง!!
                 
ทุกวันนี้คนไทยต้องดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงจากมลพิษทาง สิ่งแวดล้อมจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นภัยใกล้ตัวที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและร่างกายของเรา โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวเลย!!!
           "แร่ใยหิน"
หรือ "แอสเบสทอส" (Asbestos)  ก็ถือเป็นหนึ่งในภัยใกล้ตัวที่คนไทยน้อยคนที่จะรู้จักถึงพิษภัยของมัน ที่สามารถคร่าชีวิตของคนเราได้ หากสูดหายใจเอาแร่ใยหินเข้าไปสะสมในร่างกายเป็นปริมาณมาก
                   ที่บอกว่าเป็นภัยใกล้ตัวก็เนื่อง จากว่า "แร่ใยหิน" ได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมต่างๆ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมประเภทซีเมนต์ อุตสาหกรรมผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าป้องกันไฟหรือความร้อน อุตสาหกรรมกระดาษอัด และอุตสาหกรรมประเภทพลาสติกที่มีแอสเบสทอสเป็นส่วนประกอบ ฯลฯ
                   ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่คนไทยได้ใช้กัน อยู่บ่อย ๆ ก็คือ กระเบื้องมุงหลังคาแบบลอนลูกฟูก ท่อระบายน้ำ  กระเบื้องปูพื้น ฝ้าเพดาน ฝาผนัง ฉนวนกันความร้อน ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์รถยนต์ ท่อน้ำร้อน หม้อไอน้ำ พลาสติกขึ้นรูปต่าง ๆ  ไดเป่าผม  ฯลฯ
                  ทั้งนี้แร่ใยหิน แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ แอมฟิโบล และเซอร์เพนไทน์ โดยกลุ่มแอมฟิโบล ยังแบ่งย่อยออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่ ครอซิโดไลท์, อะโมไซท์, ทรีโมไบท์, แอนโธฟิลไลท์ และแอคทิโนไลท์ ส่วนกลุ่มเซอร์เพนไทน์ ก็ได้แก่ ไครโซไทล์ หรือไวท์ แอสเบสทอส
                 ดร.วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์    หัวหน้าภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า แร่ใยหินเป็นแร่ธรรมชาติ ที่ค้นพบมาเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี  และได้นำเข้ามาในประเทศไทยประมาณ 50-60 ปีที่แล้ว โดยมีบริษัทเอกชนนำเข้ามาเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตวัสดุก่อสร้างต่างๆ เนื่องจากแร่ใยหินมีคุณสมบัติ ทนกรด ทนความร้อน ทนไฟ มีเส้นใยที่แข็ง และเหนียว ยืดหยุ่นได้ดี เมื่อนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ จะทำให้มีความแข็งแรง ทนทาน ทนความร้อนได้ดี
               อย่าง ไรก็ตาม แร่ใยหินแม้จะมีส่วนช่วยให้คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดีขึ้น แต่ก็มีข้อเสียโดยเฉพาะผลกระทบต่อร่างกายคน หากได้รับการสูดดมฝุ่นและละอองของแร่ใยหินเข้าสู่ร่างกาย จนสะสมในปริมาณที่มากและเป็นเวลานาน 15-30 ปี ก็จะทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับปอด อาทิ มะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอดและเยื่อบุช่องท้อง (Mesothelioma) 
                  " ปัจจุบันในประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้ประกาศห้ามนำเข้าและยกเลิกการใช้แร่ใยหินในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้ว อาทิ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ฯลฯ สำหรับประเทศไทย ไครโซไทล์ หรือ ไวท์ แอสเบสทอส ยังมีการอนุญาตให้นำเข้าได้อยู่ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต แต่การนำเข้า ผลิต ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองจะต้องแจ้งและขออนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็น หน่วยงานที่รับผิดชอบ ส่วนแร่ใยหินชนิดครอซิโดไลท์ ได้ห้ามนำเข้าเพราะถือว่าเป็นชนิดที่มีอันตรายมาก"
                  ทั้งนี้ในทุก ๆ ปี ประเทศไทยต้องนำเข้าแร่ใยหิน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ แต่ปริมาณการนำเข้าแต่ละปีจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ 
                    โดยในปี 2540 ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทยมีการนำเข้าแร่ใยหินสูงถึงเกือบ 2 แสนตัน แต่พอปีต่อมา คือ ปี 2541 อุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจปริมาณการนำเข้าจึงลดลงเหลือ 5-6 หมื่นตันเท่านั้น  ส่วนในปีต่อ ๆ มา การนำเข้าก็เพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันไป จนถึงปี 2549 ไทยมีการนำเข้าแร่ใยหินเกือบ 1.5 แสนตัน โดยมีประเทศที่สั่งนำเข้าที่สำคัญ ๆ อาทิ แคนาดา รัสเซีย กรีซ ฯลฯ
                ดร.วันทนี กล่าวต่อว่า สำหรับประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแผนงานและได้ประกาศเมื่อปี 2550 ว่า ภายใน 5 ปี หรือประมาณปี 2555 จะให้มีการประกาศห้ามนำเข้าแร่ใยหิน  แต่จะเป็นไปได้หรือไม่ ยังไม่มีใครบอกได้ เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ยังมีความเห็นที่ต่างกัน อยู่           "หน่วยงานภาครัฐอาจจะมองกันคนละมุม กรมโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบอาจจะมองในด้านเศรษฐกิจและ การส่งเสริมการลงทุน จึงเห็นว่าแร่ใยหินยังจำเป็นในภาคอุตสาหกรรม หากห้ามไม่ให้ใช้ จำเป็นต้องหาวัสดุอื่นมาทดแทนซึ่งมีราคาสูงกว่ามาก ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์มีราคาสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อคนจน ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขก็จะให้ความสำคัญกับสุขภาพและความปลอดภัยของ ประชาชนจึงต้องการห้ามไม่ให้มีการนำเข้า"
                ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นสารที่จะนำมาใช้ทดแทนแร่ใยหิน เช่น PVA ซึ่งในเมืองนอกที่มีการประกาศห้ามใช้แร่ใยหิน ได้มีการใช้สารตัวนี้ทดแทนอย่างแพร่หลาย สำหรับประเทศไทย มีการผลิตสารตัวนี้เช่นกัน แต่ยังมีน้อยอยู่จึงทำให้มีราคาแพง และหากจะสั่งนำเข้ามาใช้ก็ต้องเสียภาษี ในขณะที่การนำเข้าแร่ใยหินไม่ต้องเสีย จึงทำให้ภาคอุตสาหกรรมยังต้องการใช้แร่ใยหินอยู่
              อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงจะได้รับอันตรายจากแร่ใยหินก็คือ กลุ่มคนที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมและโรงงานที่มีการใช้แร่ใยหิน รวมถึงผู้ที่ทำงานก่อสร้างและรื้ออาคาร ซึ่งมีโอกาสที่จะสูดดมฝุ่นละอองของแร่ใยหินที่ฟุ้งกระจาย หากไม่มีการป้องกันที่ดี
            ซึ่งฝุ่นละอองของแร่ใยหินก็มีคุณสมบัติสามารถฟุ้งกระจายลอยในอากาศได้เป็นเวลานาน !??!
          สำหรับการหลีกเลี่ยงภัยจากแร่ใยหินที่ดีที่สุดนั้น ดร.วันทนี บอกว่า ก็คือ "การไม่ใช้" ซึ่งการที่จะรู้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้มีหรือไม่มีแร่ใยหินก็คือ "การติดฉลาก" บอกผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เคยจะดำเนินการขอความร่วมมือให้มีการติดฉลากลงบนผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ แร่ใยหินที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งได้ เพื่อให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวัง แต่ทางผู้ผลิตเห็นว่าข้อความในฉลากน่ากลัวเกินไป จึงยังไม่ให้ความร่วมมือ จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าหรือข้อสรุปในเรื่องนี้
            สิ่งสำคัญที่สุดในตอนนี้ ดร.วันทนี มองว่า จะต้องให้ความรู้กับประชาชนในส่วนของภาคอุตสาหกรรมก็ต้องมีการป้องกันที่ดี ให้กับพนักงาน รวมถึงการรื้อถอนอาคารในเขตเมืองก็ต้องมีการป้องกันไม่ให้ฟุ้งกระจาย
            สุดท้าย ดร.วันทนี เห็นว่า ควรจะต้องมีการประกาศห้ามใช้แร่ใยหินในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สำหรับแผน 5 ปี ที่จะห้ามการนำเข้านั้น หากภาครัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเอาจริง เชื่อว่าจะทำได้อย่างแน่นอน !?! 
          เพราะประเทศอื่น ๆ สามารถทำได้มาแล้วและทำมานานแล้วด้วย !?!.
               ....ขอให้ปลอดภัย  ในการใช้สินค้าอย่างรู้เท่าทัน........นะค่ะ.....
          ...ภัย จากของใช้ก็มาก ภัยจากธรรมชาติ ก็เยอะ ภัยจากคนสร้างจะมากทวีคูณ...อยู่อย่างรู้เท่าทันนะและ ข้างหน้าปี 2554-2555 จะมีภัยอีกมากมาย โปรดเตรียมตัวเตรียมใจ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น