หมอประเวศ ปลุกประชาชน ติดอาวุธทางปัญญาผลั กดันนักการเมืองคุ้มครองสิทธิผู ้บริโภค
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “สานพลั ง สามพลัง เพื่อผู้บริโภคไทย” จัดการประชุ มวิชาการคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งที่ 2 เนื่องในโอกาสวันสิ ทธิผู้บริโภคสากล ว่า การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นศี ลธรรมที่มนุษย์พึงมีต่อกัน การทำร้ายผู้บริโภคเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรม แต่พบว่า สังคมปัจจุบันเป็นสั งคมแสวงหากำไร ผู้ บริโภคในปัจจุบันถูกทำร้ายจากทุ กทิศทาง ทั้งในด้านอาหาร ยา สินค้าบริการ และสภาพสิ่งแวดล้อม ประชาชน ได้รับผลกระทบทางลบและไม่มี ความปลอดภัยมากมายจากสินค้าด้ อยคุณภาพ อันตราย คิดราคาแพงเกินไป มีการใช้ยาฆ่าแมลง- แร่ใยหิน- สารหนู- สารแคดเมี่ยม และสารตะกั่ว แผ่นดินของเราเป็ นแผ่นดินอาบยาพิษ ใช้ยา และสารพิษมากมาย ชีวิตของผู้บริโภคล้วนอยู่ล้ อมรอบพิษภัยต่างๆ ที่ สำคัญ การโฆษณาทำให้เกิดความเสื่อม ขาดการวิเคราะห์ ผู้ประกอบการแสวงหากำไรสูงสุด ไม่สนใจศีลธรรมเช่น การโฆษณาให้เด็กกินหวาน ดึงเงินไปจากพ่อแม่เด็ก 170, 000 ล้าน บาท แต่ทิ้งปัญญาสุขภาพไว้กับเด็กซึ ่งเป็นอนาคตของชาติมากมาย ทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน จะเห็นได้ว่า ระบบทุนนิยมก่อให้เกิ ดหายนะกระทบผู้บริโภคทั้ งทาง ตรงและทางอ้อม นำไปสู่ความรุนแรง ความขัดแย้ง ความตาย ก่อความทุกข์ไปทั่วโลก ทำลายสังคม สิ่งแวดล้อม นำไปสู่โลกร้อน ผ่านการส่งเสริมการบริโภคเกิ นเลย เกิดภัยพิบัติไปทั่วโลก เช่น พายุ น้ำท่วมฉับพลัน ภาวะแห้งแล้ง ไฟไหม้ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดจะเกิดมากขึ้น นำไปสู่การขาดแคลนอาหาร เพราะพื้นที่การผลิตมีน้อยลง เกิดโรคระบาด การจลาจลและสงคราม ดังนั้น ประชาชนต้องขับเคลื่อนด้วยการติ ดอาวุธทางปัญญาจากภาควิชาการ ผลักดันให้นักการเมืองทำงานเพื่ อประชาชน
“เพราะนักการเมืองจะทำเรื่องดี ๆ ไม่ได้ ถ้าไม่มีประชาชนคอยขับเคลื่อน เพราะโดยปกติ อำนาจรัฐจะเข้าข้างคนมีเงิน ไม่เคยเข้าข้างคนที่เสียเปรียบ อย่างเรื่องร่าง พรบ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้ มครองผู้บริโภค ซึ่งควรมีกองทุนเพื่อคุ้มครองผู ้บริโภคขนาดใหญ่พอที่จะส่งเสริ มการทำระบบคุ้มครองผู้บริโภคอย่ างมีประสิทธิภาพ แต่เท่าที่ทราบมาก็ถูกตั ดงบประมาณ
นักการ เมืองเป็นผู้แทนราษฎร ราษฎรเลือกเข้าไปให้ไปทำงาน แต่เข้าไปหาประโยชน์เป็นพันล้าน หมื่นล้านแ แสนล้าน แต่พอเป็นเงินคุ้มครองผู้บริ โภคของบประมาณไม่น้อยกว่า 5 บาทต่อหัวประชากร ก็จะมาขอตัดเหลือ 3 บาทต่อหัวประชากร ทั้งที่ต้องทำงานจากครรภ์ มารดาถึงเชิงตะกอน นี่ก็จะมาตัดเขา ฉะนั้น ลำพังการเมืองนั้นไม่เคยทำสิ่ งที่ดีๆได้ จำเป็นต้องอาศัยพลังประชาชนที่ ตื่นตัวและติดอาวุธด้วยปั ญญาและใช้สันติวิธีรุกคืบเข้าไป ผมเชื่อว่า อำนาจจะเคลื่อนที่จากพลานุภาพ ซึ่งคืออานาจรัฐ-การใช้กำลัง ไปสู่ธนานุภาพซึ่งหมายถึ งอำนาจทางการเงิน ไปสู่สังคมานุภาพ คือพลังทางสังคมในที่สุด”
ศ.นพ.ประเวศกล่าวว่า การจะสร้างกลไกในการคุ้มครองผู้ บริโภคจากสังคมแห่ งการแสวงหากำไร เปลี่ยนเป็นสังคมแห่งการอยู่ร่ วมกัน ต้องเร่งสร้าง "พลังทางปัญญา พลังทางสังคม และพลังศีลธรรม" รวมเป็นพลังในการขับเคลื่ อนงานคุ้มครองผู้บริโภคได้ดังนี ้ 1. สร้างชุมชนเข้มแข็งทุกๆ ด้าน เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างยั ่งยืน 2. ระบบ สุขภาพชุมชน ที่จะดูแลคนในชุมชน เช่น อสม. หมออนามัย เป็นต้น เผยแพร่ให้ความรู้การจัดอบรมนั กสุขภาพครอบครัวที่คอยให้ข้อมู ลการบริโภคที่ ปลอดภัย 3. สร้างตลาดขายตรงให้ มากที่สุด ไม่ผ่านการโฆษณาชวนเชื่อส่งเสริ มการบริโภคเกินเลย มี ตลาดขายตรงผู้บริโภคซื้อจากผู้ ขายโดยตรง รับผิดชอบ มีความเอื้ออาทรต่อกัน ผลิตสินค้าปลดสารพิษ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภค ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่รวมตัวจั ดตั้งบริษัทที่ทำเพื่อสังคม เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้ บริโภค พลังแห่งการพัฒนาอย่ างยั่งยืนอยู่ที่พลังของผู้บริ โภค 4. คน ถูกยัดเยียดให้ข้อมูลข่าวสาร ควรส่งเสริมหลักสูตรวิเคราะห์ข่ าวสารการโฆษณา คุ้มครองผู้บริโภคในทุกชั้นเรี ยน ควรมีความสามารถว่าข่ าวสารอะไรเชื่อถือได้หรือไม่ ฝึกวิจารณญาณไม่ให้ถูกล้างสมอง ควรส่งเสริมให้เรียนรู้จากปฏิบั ติจริง
5. สื่อสร้างสรรค์ คณะ นิเทศ/วารสาร ควรรวมตัวกันทำระบบเฝ้าระวังสื่ อ เป็นการโน้มน้าวให้สื่อเป็นสื่ อสร้างสรรค์มากขึ้น มิฉะนั้นคนที่จบสาขาเหล่านี้ก็ จะเข้าสู่วงจรปลุกระดมให้บริ โภคที่ไม่สมควร องค์กรอิสระเพื ่อคุ้มครองผู้บริโภคควรส่งเสริ มระบบเฝ้าระวังสื่อ 6. การวิจั ยเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เป็นกลไกที่ช่วยขับเคลื่อนงานคุ ้มครองผู้บริโภค 7.เวทีพั ฒนานโยบายเพื่อผู้บริโภค ภาครัฐส่วนใหญ่ไม่เข้าข้างผู้ เสียเปรียบ จำเป็นต้องใช้ 3 พลังคือ พลังภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคมมาเชื่ อมโยงและมีเวทีในการพัฒนาเพื่ อผู้บริโภค 8. ส่งเสริมธุรกิ จไทยหัวใจมนุษย์ ที่มีความรับผิดชอบ ปฏิรูปความเป็นมนุษย์ ไม่ได้มุ่งแสวงผลกำไรเพียงอย่ างเดียว และ 9. กองทุนเพื่อคุ้มครองผู้ บริโภค พลังที่จะขับเคลื่อน ควรมีกองทุนขนาดใหญ่ที่ส่งเสริ มการทำระบบคุ้มครองผู้บริโภคอย่ างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้ างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้ านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย รวม 11 องค์กร จัดการประชุมวิ ชาการคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งที่ 2 เนื่องในโอกาสวันสิ ทธิผู้บริโภคสากล วันที่ 15 มีนาคมของทุกปี ( World Consumer Right Day) ในหัวข้อ “สานพลัง สามพลัง เพื่อผู้บริโภค” ระหว่างวันที่ 14-15 มี.ค. ซึ่งได้รับร่วมมือ 3 พลังหลัก อันประกอบด้วย ภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม ระดมเครือข่ ายกว่า 800 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนา วิชาการด้านการคุ้มครองผู้บริ โภค นำไปสู่จัดทำข้อเสนอเชิ งนโยบายและร่วมกำหนดทิ ศทางในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคทั้งในระดับพื้นที่ และระดับประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น