มีเรื่องร้องเรียนเข้ามากว่า....
ขณะนี้ มีบริษัทหนึ่งในจังหวัดชลบุรี มีการส่งจดหมายให้แก่ผู้บริโภค ว่า คุณโชคดี คุณได้รับสิทธิพิเศษในการรับเครื่องเล่นโฮมเธียร์เตอร์ โทรทัศน์ จอ LCD หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องดูดฝุ่น เป็นต้น
เมื่อหลงกล เข้าไปแล้ว ปรากฎว่า ถูกหลอกและ ต้องเสียเงินอีกจำนวนหนึ่ง
ถ้าคุณไม่อยากรับของขวัญวันปีใหม่ที่พิเศษเช่นนี้ อย่าหลงเชื่อเด็ดขาด
ขณะนี้ตำรวจภาค ๒ ประสานแจ้งมาแล้วว่า...กำลังดำเนินการด้าน กม.กับ บริษัท นี้....ขอบอก..
สุขสันต์วันปีใหม่ ขอให้ทุกท่านมีความสุขตลอดปี และตลอดไป
พ่อหลวงสอนใว้...พอเพียง คือ ความพอดี ของชีวิต
วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553
สิทธิผู้บริโภค สิทธิชุมชน คนพานทอง ชลบุรี ????
จาก มาบตาพุด (มาบตาพิษ)
สู่
อมตะนคร ๒ ชลบุรี - แปดริ้ว
ผลิตผล....ของการนิคมอุตสาหกรรม ???
อุตสาหกรรม ชาวบ้านเขาไม่ต้องการ....ทำไมต้องมี?
ไปที่ไหนเขาก็ประท้วง..คนใช้เงิน - กินเงินภาษี.....ไม่รู้สึกบ้างหรือ?
เวทีสาธารณะ เครือข่ายอำเภอพานทอง
สิทธิ ตาม พรบ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
สู่
อมตะนคร ๒ ชลบุรี - แปดริ้ว
ผลิตผล....ของการนิคมอุตสาหกรรม ???
ไปที่ไหนเขาก็ประท้วง..คนใช้เงิน - กินเงินภาษี.....ไม่รู้สึกบ้างหรือ?
เวทีสาธารณะ เครือข่ายอำเภอพานทอง
สิทธิ ตาม พรบ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
๑) สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้อง และ เพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
๒) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
๓) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า หรือ บริการ
๔) สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
๕) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
เรื่องง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน
0 เรื่องง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน
- ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน เช่น เปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอดตะเกียบ ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ผอมใหม่ T5
- ถ้าไม่ร้อนมากเกินไป ควรใช้พัดลมแทนเครื่องปรับอากาศ แต่ถ้าต้องเปิดเครื่องปรับอากาศก็เปิดที่ 25 องศาเซลเซียส โดยตั้งเวลาเปิดเครื่องให้ทำงานเท่าที่จำเป็น
- ปิดไฟในห้องนอนที่ไม่มีคนอยู่ ถอดปลั๊กทีวี วิทยุ คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง หรืออื่น ๆ เมื่อเลิกใช้งาน
- อย่าใส่ของร้อนเข้าตู้เย็น หรือใส่ของจนเต็มตู้ และไม่ควรเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ หมั่นละลายน้ำแข็งในช่องแช่แข็งด้วย เพื่อประหยัดพลังงานในการทำงานของตู้เย็น
- ใช้ไม้กวาด กวาดบ้าน ซักผ้าด้วยมือ ได้ออกกำลังกาย และประหยัดไฟกว่าใช้เครื่องดูดฝุ่น หรือเครื่องซักผ้า แต่ถ้าไม่มีเวลา ก็ควรซักเครื่องทีละมาก ๆ
- ถ้ามีของใช้ในบ้านเสีย ควรหาทางซ่อมให้กับมาใช้ได้ใหม่ หรือดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ในทางอื่น อย่าเพิ่งรีบทิ้ง หรือซื้อของใหม่
- แยกขยะที่บ้านเป็น 2 ประเภท คือ ขยะเปียก (เศษอาหาร) ไว้ทำปุ๋ย กับขยะรีไซเคิลไว้ขายอาแปะซาเล้ง เช่น เศษกระดาษ พลาสติก แก้ว เป็นต้น
- เก็บน้ำมันพืชที่ใช้แล้วไปขายที่ปั๊มน้ำมันบางจาก เพื่อนำไปทำไบโอดีเซล
- ใช้น้ำอย่างประหยัด ใช้โถชักโครกแบบประหยัดน้ำ อย่าปล่อยให้มีน้ำรั่ว หากรั่วรีบซ่อมทันที
- ปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน มีพื้นที่น้อยก็ปลูกไม้กระถาง มีพื้นที่มากก็ปลูกไม้ยืนต้น
- ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน เช่น เปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอดตะเกียบ ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ผอมใหม่ T5
- ถ้าไม่ร้อนมากเกินไป ควรใช้พัดลมแทนเครื่องปรับอากาศ แต่ถ้าต้องเปิดเครื่องปรับอากาศก็เปิดที่ 25 องศาเซลเซียส โดยตั้งเวลาเปิดเครื่องให้ทำงานเท่าที่จำเป็น
- ปิดไฟในห้องนอนที่ไม่มีคนอยู่ ถอดปลั๊กทีวี วิทยุ คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง หรืออื่น ๆ เมื่อเลิกใช้งาน
- อย่าใส่ของร้อนเข้าตู้เย็น หรือใส่ของจนเต็มตู้ และไม่ควรเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ หมั่นละลายน้ำแข็งในช่องแช่แข็งด้วย เพื่อประหยัดพลังงานในการทำงานของตู้เย็น
- ใช้ไม้กวาด กวาดบ้าน ซักผ้าด้วยมือ ได้ออกกำลังกาย และประหยัดไฟกว่าใช้เครื่องดูดฝุ่น หรือเครื่องซักผ้า แต่ถ้าไม่มีเวลา ก็ควรซักเครื่องทีละมาก ๆ
- ถ้ามีของใช้ในบ้านเสีย ควรหาทางซ่อมให้กับมาใช้ได้ใหม่ หรือดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ในทางอื่น อย่าเพิ่งรีบทิ้ง หรือซื้อของใหม่
- แยกขยะที่บ้านเป็น 2 ประเภท คือ ขยะเปียก (เศษอาหาร) ไว้ทำปุ๋ย กับขยะรีไซเคิลไว้ขายอาแปะซาเล้ง เช่น เศษกระดาษ พลาสติก แก้ว เป็นต้น
- เก็บน้ำมันพืชที่ใช้แล้วไปขายที่ปั๊มน้ำมันบางจาก เพื่อนำไปทำไบโอดีเซล
- ใช้น้ำอย่างประหยัด ใช้โถชักโครกแบบประหยัดน้ำ อย่าปล่อยให้มีน้ำรั่ว หากรั่วรีบซ่อมทันที
- ปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน มีพื้นที่น้อยก็ปลูกไม้กระถาง มีพื้นที่มากก็ปลูกไม้ยืนต้น
| ||
- คิดเสมอว่า การเดิน เป็นวิธีเดินทางประหยัดพลังงานที่สุด และเป็นการออกกำลังกายด้วย
- ขี่จักรยานไปตลาด หรือไปติดต่อธุระในสถานที่ใกล้บ้าน หรือถ้าที่ทำงานอยู่ใกล้ก็ขี่ไปทำงานเลยก็ได้
- ใช้บริการรถสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถตู้ รถไฟลอยฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว และยังช่วยสร้างความต้องการให้เกิดบริการรถสาธารณะมากขึ้นในอนาคต
- จะไปนอกเส้นทางปรกติ พยายามใช้รถแท็กซี่แทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว เพราะมีรถแท็กซี่วิ่งตลอดเวลาอยู่แล้ว
- ถ้าต้องขับรถยนต์ส่วนตัว ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. จะประหยัดน้ำมัน พยายามรักษาความเร็ว ไม่ควรเหยียบเบรก หรือเร่งเครื่องโดยไม่จำเป็น
- หมั่นเช็กลมยางของรถยนต์ให้ตรงตามขนาดที่เหมาะสม เพราะถ้าลมยางอ่อนจะทำให้เปลืองน้ำมันมาก
- ดับเครื่องเมื่อจอดรถเสมอ
- สนับสนุนการใช้น้ำมันไบโอดีเซล หรือแก๊สโซฮอล์ แทนการใช้น้ำมันเบนซิน หรือดีเซล
- จัดระบบ Car pool เช่น รวมกลุ่มคนอื่นซึ่งมีที่ทำงานอยู่ในทางเดียวกัน โดยให้นั่งรถยนต์คันเดียวกันแทนการขับรถยนต์ไปกันคนละคัน
- การเดินทางไกล ๆ พยายามลดการเดินทางด้วยเครื่องบิน เพราะเครื่องบินปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อผู้โดยสารมากที่สุดเมื่อเทียบกับการ เดินทางประเภทอื่น ๆ ถ้าเป็นไปได้ใช้รถไฟ หรือรถประจำทางแทน
- ไม่รับถุงพลาสติกจากร้านค้า ควรพกถุงผ้าติดตัวไว้ใส่ของเสมอ หรือบางครั้งอาจต้องพกถุงพลาสติกส่วนตัวไว้สำหรับใส่ของที่อาจเลอะเทอะได้
- เลือกซื้อของมือสองแทนการซื้อของใหม่ มีของมือสองมากมายที่ใช้ได้ดี และราคาถูกเสียด้วย เช่น เสื้อผ้า หนังสือ วีซีดี คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
- ซื้อของที่บรรจุในขวดแก้วดีกว่าวัสดุแบบอื่น ๆ เช่น น้ำอัดลม น้ำปลา ซอส เป็นต้น เพราะขวดแก้วน้ำกลับไปบรรจุซ้ำได้อีก
- ไม่ซื้อของที่บรรจุในโฟม หรือใช้หีบห่อฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น ถ้าต้องใช้โฟม หรือพลาสติกจริง ๆ พยายามหาพลาสติก หรือโฟมแบบที่ย่อยสลายได้เองในธรรมชาติ
- พยายามเลือกของที่สามารถใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีกได้ ไม่ควรซื้อของที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ใช้ถ่านไฟฉายแบบชาร์จไฟได้แทนถ่านธรรมดาแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
- ซื้อเครื่องกรองน้ำมาใช้แทนการซื้อน้ำขวด หรือถังน้ำ
- ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 และค่าประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า EER ไม่น้อยกว่า 10.6 (ยิ่งสูงยิ่งดี)
- เลือกของที่ทำงานโดยต้องไม่ใช้ไฟฟ้า หรือถ่าน เช่น ที่โกนหนวดแบบธรรมดา นาฬิกาไขลาน หรือเครื่องใช้ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เช่น เครื่องคิดเลข เครื่องทำน้ำร้อน เป็นต้น
- สนับสนุนสินค้าในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ผลไม้ หรือของใช้อื่น ๆ เพราะสินค้าจากต่างประเทศต้องสิ้นเปลืองพลังงานขนส่งมากกว่า
- คิดทบทวนก่อนจ่ายเงินซื้อของทุกครั้งว่า จำเป็นต้องใช้ของนั้นจริงหรือไม่ เราใช้ของที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าแล้วหรือยัง
30 วิธีที่กล่าวมานี้ ถึงแม้บางเรื่องจะเป็นเรื่องเดิม ๆ ที่เรารู้กันดีอยู่แล้ว แต่หากค่อย ๆ ทำ และช่วยกัน ทีมงานเชื่อว่า มือเล็ก ๆ จากหลาย ๆ ครอบครัว สามารถบรรเทาอาการป่วยของโลกได้ไม่มากก็น้อย
วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553
คดีผู้บริโภค
“คดีผู้บริโภค”
การ เป็นคดีความ ไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือจำเลย ดูจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและน่าเวียนหัว ปวดใจอยู่ไม่ใช่น้อย ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาหรือความเสียหายในจำนวนเงินที่ไม่สูง มาก โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากการจับจ่ายใช้สอยสินค้าหรือบริการที่มีราคาหลักร้อย หรือหลักพัน เราก็อาจจะรู้สึกว่า มันไม่คุ้มค่าที่จะไปฟ้องร้องเป็นคดีความให้เหนื่อยหนักหัวใจ และเสียเวลาทำมาหากิน อีกทั้งได้ไม่คุ้มเสีย เพราะค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องเป็นคดีในแต่ละเรื่องก็ไม่ใช่น้อยๆ
และถือว่า เป็นเรื่องใหม่พอสมควร สำหรับ เนื่องจากได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคนี้เมื่อปี พ.ศ. 2551 นี้เอง ซึ่งกฎหมายนี้ มีขึ้นเพื่อดูแลผู้บริโภคอย่างพวกเราท่านโดยเฉพาะ เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคที่มีปริมาณมากที่สุดของประเทศให้เข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมได้ง่ายขึ้น ไม่ถูกขัดขวางด้วยรูปแบบการฟ้องคดีแบบเดิมๆ อีกต่อไป เนื่องจากเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคอย่างพวกเราท่านสามารถนำ “คดีผู้บริโภค” มาฟ้องได้สะดวกขึ้น
ก่อนที่จะรู้ว่า เราจะเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องคดีผู้บริโภคได้อย่างไร? เราก็ควรทราบก่อนว่า “คดีผู้บริโภค” เกี่ยวข้องกับใครบ้าง?
อันดับแรก คือ ผู้บริโภค หมายถึง ผู้ซื้อ หรือผู้ที่ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ หรือผู้ใช้สินค้าหรือผู้ที่ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยที่ไม่ได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
อันดับที่สอง คือ ผู้ที่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันนี้มีอยู่ 3 องค์กร คือ
๑. คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคได้ 2 กรณี คือ
คดีที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ที่คณะกรรมการเห็นสมควร และ
คดีที่ผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิร้องขอ ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่า การดำเนินคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม
๒. สมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรอง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 40 และมาตรา 41 ซึ่งมีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกของสมาคมเท่านั้น
๓. มูลนิธิที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรอง มี อำนาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายแทนผู้บริโภคได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น จากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
อันดับที่สาม คือ ผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งหมายถึง
ผู้ขาย คือ ผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าซื้อ หรือผู้จัดหาให้ไม่ว่าด้วยประการใดๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงิน หรือผลประโยชน์อย่างอื่น ตลอดจนผู้เสนอหรือชักชวนเพื่อการดังกล่าวด้วย
และถือว่า เป็นเรื่องใหม่พอสมควร สำหรับ เนื่องจากได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคนี้เมื่อปี พ.ศ. 2551 นี้เอง ซึ่งกฎหมายนี้ มีขึ้นเพื่อดูแลผู้บริโภคอย่างพวกเราท่านโดยเฉพาะ เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคที่มีปริมาณมากที่สุดของประเทศให้เข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมได้ง่ายขึ้น ไม่ถูกขัดขวางด้วยรูปแบบการฟ้องคดีแบบเดิมๆ อีกต่อไป เนื่องจากเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคอย่างพวกเราท่านสามารถนำ “คดีผู้บริโภค” มาฟ้องได้สะดวกขึ้น
ก่อนที่จะรู้ว่า เราจะเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องคดีผู้บริโภคได้อย่างไร? เราก็ควรทราบก่อนว่า “คดีผู้บริโภค” เกี่ยวข้องกับใครบ้าง?
อันดับแรก คือ ผู้บริโภค หมายถึง ผู้ซื้อ หรือผู้ที่ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ หรือผู้ใช้สินค้าหรือผู้ที่ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยที่ไม่ได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
อันดับที่สอง คือ ผู้ที่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันนี้มีอยู่ 3 องค์กร คือ
๑. คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคได้ 2 กรณี คือ
คดีที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ที่คณะกรรมการเห็นสมควร และ
คดีที่ผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิร้องขอ ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่า การดำเนินคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม
๒. สมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรอง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 40 และมาตรา 41 ซึ่งมีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกของสมาคมเท่านั้น
๓. มูลนิธิที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรอง มี อำนาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายแทนผู้บริโภคได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น จากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
อันดับที่สาม คือ ผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งหมายถึง
ผู้ขาย คือ ผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าซื้อ หรือผู้จัดหาให้ไม่ว่าด้วยประการใดๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงิน หรือผลประโยชน์อย่างอื่น ตลอดจนผู้เสนอหรือชักชวนเพื่อการดังกล่าวด้วย
ผู้ผลิตเพื่อขาย คือ ผู้ทำ ผสม ปรุง ประกอบ ประดิษฐ์ หรือแปรสภาพ หรือดัดแปลง คัดเลือก หรือแบ่งบรรจุเพื่อขาย
ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในประเทศไทยเพื่อขาย คือ ผู้สั่งซื้อสินค้ามาจากผู้ผลิตต่างแดน
ผู้ซื้อเพื่อขายต่อ คือ ผู้ค้าปลีก ซึ่งซื้อสินค้ามาจากผู้ผลิตหรือผู้ขายส่ง ไม่ใช่ผู้บริโภค
ผู้ให้บริการ คือ ผู้รับจัดทำการงาน ผู้ให้สิทธิใดๆ หรือให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใดๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่นๆ เช่น ให้เช่าอาคารสำนักงาน
ผู้ประกอบกิจการโฆษณา คือ ผู้ประกอบกิจการที่มีวัตถุประสงค์ที่จะกระทำการใดๆ ให้คนทั่วไปเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า
ความหมายของ “คดีผู้บริโภค” ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 คือ
(1) คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค กับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการบริโภค สินค้าหรือบริการ
(2) คดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
(3) คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกันกับคดีตาม (1) หรือ (2)
(4) คดีแพ่งที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาตามพระราชบัญญัตินี้
ซึ่งการใช้สิทธิฟ้อง “คดีผู้บริโภค” ผู้เสียหายที่เป็นโจทก์จะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ในกรณีที่อยากฟ้องด้วยวาจา ศาลจะจัดให้เจ้าพนักงานคดีทำหน้าที่บันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้องแล้วให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
และในคดีผู้บริโภคนั้น ผู้บริโภคมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ว่า ตนเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากสินค้าหรือบริการเท่านั้น เช่น หากผู้บริโภคผิวหน้าเป็นแผลด่างดวงจากการใช้เครื่องสำอาง ผู้บริโภคก็ต้องแสดงให้ศาลเห็นได้ว่าก่อนหน้าที่จะใช้เครื่องสำอางยี่ห้อนี้ มีผิวหน้าดีอย่างไร แต่หลังจากใช้เครื่องสำอางยี่ห้อนี้ทาผิวหน้าแล้ว ส่งผลให้ผิวหน้าเกิดปัญหาอย่างไรบ้าง
แต่ควรทราบว่า “คดีผู้บริโภค” ไม่ได้หมายความว่า จะเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจเพียงฝ่ายเดียว แต่ยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภคเป็นคดีได้เช่นกัน อาทิ เช่น
คดีที่ผู้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ฟ้องบังคับลูกค้าให้ชำระหนี้ตามสัญญายืม จำนอง ค้ำประกัน บัญชีเดินสะพัด หรือการให้บริการอื่นๆ
คดีที่ผู้ ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต หรือให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล หรือกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาฟ้องบังคับลุกหนี้ให้ชำระหนี้ตามสัญญาบัตร เครดิต หรือสัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น
ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งของการฟ้อง “คดีผู้บริโภค” คือ การใช้วิธีพิจารณาในระบบไต่สวน ซึ่งทำให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในการเรียกพยานหลักฐานเข้ามาสืบได้เอง และสั่งให้เจ้าพนักงานคดี ซึ่งทำหน้าที่ช่วยศาลตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานที่จำเป็นให้ศาลทราบ เพื่อช่วยให้ได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วนรอบด้าน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้เข้าถึงและได้รับความเป็นธรรมอย่างแท้จริง
ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในประเทศไทยเพื่อขาย คือ ผู้สั่งซื้อสินค้ามาจากผู้ผลิตต่างแดน
ผู้ซื้อเพื่อขายต่อ คือ ผู้ค้าปลีก ซึ่งซื้อสินค้ามาจากผู้ผลิตหรือผู้ขายส่ง ไม่ใช่ผู้บริโภค
ผู้ให้บริการ คือ ผู้รับจัดทำการงาน ผู้ให้สิทธิใดๆ หรือให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใดๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่นๆ เช่น ให้เช่าอาคารสำนักงาน
ผู้ประกอบกิจการโฆษณา คือ ผู้ประกอบกิจการที่มีวัตถุประสงค์ที่จะกระทำการใดๆ ให้คนทั่วไปเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า
ความหมายของ “คดีผู้บริโภค” ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 คือ
(1) คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค กับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการบริโภค สินค้าหรือบริการ
(2) คดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
(3) คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกันกับคดีตาม (1) หรือ (2)
(4) คดีแพ่งที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาตามพระราชบัญญัตินี้
ซึ่งการใช้สิทธิฟ้อง “คดีผู้บริโภค” ผู้เสียหายที่เป็นโจทก์จะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ในกรณีที่อยากฟ้องด้วยวาจา ศาลจะจัดให้เจ้าพนักงานคดีทำหน้าที่บันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้องแล้วให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
และในคดีผู้บริโภคนั้น ผู้บริโภคมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ว่า ตนเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากสินค้าหรือบริการเท่านั้น เช่น หากผู้บริโภคผิวหน้าเป็นแผลด่างดวงจากการใช้เครื่องสำอาง ผู้บริโภคก็ต้องแสดงให้ศาลเห็นได้ว่าก่อนหน้าที่จะใช้เครื่องสำอางยี่ห้อนี้ มีผิวหน้าดีอย่างไร แต่หลังจากใช้เครื่องสำอางยี่ห้อนี้ทาผิวหน้าแล้ว ส่งผลให้ผิวหน้าเกิดปัญหาอย่างไรบ้าง
แต่ควรทราบว่า “คดีผู้บริโภค” ไม่ได้หมายความว่า จะเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจเพียงฝ่ายเดียว แต่ยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภคเป็นคดีได้เช่นกัน อาทิ เช่น
คดีที่ผู้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ฟ้องบังคับลูกค้าให้ชำระหนี้ตามสัญญายืม จำนอง ค้ำประกัน บัญชีเดินสะพัด หรือการให้บริการอื่นๆ
คดีที่ผู้ ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต หรือให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล หรือกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาฟ้องบังคับลุกหนี้ให้ชำระหนี้ตามสัญญาบัตร เครดิต หรือสัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น
ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งของการฟ้อง “คดีผู้บริโภค” คือ การใช้วิธีพิจารณาในระบบไต่สวน ซึ่งทำให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในการเรียกพยานหลักฐานเข้ามาสืบได้เอง และสั่งให้เจ้าพนักงานคดี ซึ่งทำหน้าที่ช่วยศาลตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานที่จำเป็นให้ศาลทราบ เพื่อช่วยให้ได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วนรอบด้าน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้เข้าถึงและได้รับความเป็นธรรมอย่างแท้จริง
วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553
เครือข่าย ศบท.เขตพื้นที่ อ.พานทอง จัดประชุมประจำเดือน กันยายน ๒๕๕๓ร่วมกับวิทยากรแกนนำ ศบท.ชลบุรี
เครือข่าย องค์กรผู้บริโภคฯ จ.ชลบุรี เขตพื้นที่ อ.พานทอง จัดประชุมคณะกรรมการเครือข่าย เวทีสัญจร ร่วมกับ แกนนำ อาสาสมัคร วิทยากรงานคุ้มครองสิทธิฯ-เครือข่ายวิทยุชุมชน - ดีเจ กำปั่น เขตพื้นที่ อ.เมือง - อ.พนัสนิคม -อ.บ่อทอง และ อ.พานทอง มาร่วมประชุมด้วยกัน ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ตำบลเกาะลอย โดยการนำของ แกนนำ คุณ ชมพล ประสนิท และ อีกทั้งได้แกนนำ เครือข่าย อ.ศรีราชา มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ งานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคฯ ซึ่งในเวทีนี้ แกนนำ อาสาสมัคร ได้เข้าร่วมประชุม แลกเปลี่ยน ทัศนคติ แนวทาง ด้านการทำงานปกป้องสิทธิฯ กับคณะกรรมการ ศูนย์ฯจ.ชลบุรี เป็นการสร้างกลไกการคุ้มครองสิทธิให้ขยายผลไปให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่ อ.พานทอง และ อำเภอใกล้เคียง
หลังจากนั้น วิทยากรรุ่นบุกเบิกของ ศูนย์ฯจ.ชลบุรี ได้มีการจัดเวทีย่อยให้ความรู้ และ นำเสนอประสบการณ์ แลกเปลี่ยน ปัญหา ร่วมกัน
- ประชุมคณะกรรมการ เรื่อง -ประมูล 3 จี (ล่มแล้ว)
- การรับเรื่องร้องเรียน
- เรื่องร้องเรียน มากสุดคือ -ข้อความกวนใจ -บัตรเติมเงิน เงินเหลือวันหมด อินเตอร์เนต ช้า และ คิดค่าโทรแพงเกินจริง- นโยบาย สบท. - นโยบาย ศูนย์ฯจ.ชลบุรี เรื่อง เกี่ยวกับ สิทธิผู้บริโภคฯ ทั้งเรื่อง
- การคงสิทธิเลขหมาย (คนเดียวเบอร์เดียว) -บัตรเติมเงิน -ข้อความรบกวนความเป็นส่วนตัว
- งานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านอื่นๆ ด้วย - ขับเคลื่อนนโยบายเครือข่ายเยาวชน และ อื่นๆ- การรับเรื่องร้องเรียน
-และที่สำคัญคือ การขยายผลการเชื่อมร้อย การขยายผลทำงาน กับ เครือข่ายสื่อ-วิทยุชุมชน เคเบิ้ล โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์
ผู้บริโภค ต่างตื่นตัวและให้ความสนใจ ที่คณะกรรมการ เครือข่าย อำเภอพานทอง และ ศูนย์ฯจ.ชลบุรี ร่วมกันจัดเวทีนี้ขึ้นมา หลายคนต่างให้การตอบรับ ได้รับรู้ว่า ตนเองมีสิทธิ อย่างนี้ ที่ผ่านมาเสียสิทธิ และเสียโอกาสไปมาก หากมีการจัดเวทีแบบนี้ จะเข้ามาร่วมรับฟัง และร่วมแลกเปลี่ยน ด้วย ฟังง่าย เข้าใจ ง่าย ได้สาระ...เขาว่างั้นค่ะ
ขอขอบคุณ คณะกรรมการเครือข่าย อ.พานทอง พื้นที่ เกาะลอย - เครือข่ายวิทยุชุมชน และ แกนนำ อ.ศรีราชา -บ่อทอง -บ้านบึง-พนัสนิคม ที่มาช่วยกันทำงาน ระดมสรรพกำลัง บูรณาการการทำงาน ร่วมแลกเปลี่ยนในเวที เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำ อาสาสมัคร ให้เกิดความตื่นตัวอย่างมาก ร่วมรับฟัง คลื่นวิทยุเพื่อผู้บริโภค คลื่น นิคม อมตะนคร อ.พานทอง และ อ.พนัสนิคม ๙๑.๕๐ -๙๘.๖๐-๑๐๑.๒๕-๑๐๔.๒๕ MHz. แล้วพบกันเดือนหน้า ....ค่ะ่
ขอขอบคุณ คณะกรรมการเครือข่าย อ.พานทอง พื้นที่ เกาะลอย - เครือข่ายวิทยุชุมชน และ แกนนำ อ.ศรีราชา -บ่อทอง -บ้านบึง-พนัสนิคม ที่มาช่วยกันทำงาน ระดมสรรพกำลัง บูรณาการการทำงาน ร่วมแลกเปลี่ยนในเวที เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำ อาสาสมัคร ให้เกิดความตื่นตัวอย่างมาก ร่วมรับฟัง คลื่นวิทยุเพื่อผู้บริโภค คลื่น นิคม อมตะนคร อ.พานทอง และ อ.พนัสนิคม ๙๑.๕๐ -๙๘.๖๐-๑๐๑.๒๕-๑๐๔.๒๕ MHz. แล้วพบกันเดือนหน้า ....ค่ะ่
วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
เครือข่าย ศูนย์ฯจ.ชลบุรี อ.เกาะสีชัง - อ.ศรีราชา สร้างกลไกคุ้มครองสิทธิ ขยายผลลงสู่พื้นที่ อย่างต่อเนื่อง
วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
การคงสิทธิเลขหมาย...มีสิทธิ เลื่อนอีกแล้ว
กทช. โยนหินถามทางอีกแล้ว ซื้อเวลา เรื่อง การคงสิทธิ เลขหมาย อาจต้องเจอโรคเลื่อน ข่าวว่า อาจเลื่อน ไปเดือน ตุลาคม อีกแล้ว...ได้เวลาเป่านกหวีดแล้วมั้ง.......พี่น้อง ขา...หรือว่า รอ ....การประกาศ 3.9 จี ออกมาก่อน
วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
องค์กรผู้บริโภค ขอคัดค้านการคงสิทธิเลขหมายที่มีค่าใช้จ่าย 99 บาท
กทช.เห็นชอบค่าโอนเลขหมายเบอร์เดียวทุกค่าย 99 บาท คาดเปิดบริการ ก.ย.นี้
นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ กทช. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบอัตราราคาคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ต อะบิลิตี้) ในราคา 99 บาท โดยมีเงื่อนไขการโอนเข้าระบบภายใน 3 วัน ซึ่งขณะนี้ระบบตรวจรับปริมาณการใช้งาน (เคลียร์ริ่งเฮ้าส์) ติดตั้งอุปกรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างทดสอบระบบใน 3 ระดับ คือ การทดสอบระบบโครงข่าย การทดสอบการเข้า-ออก ระบบเกตเวย์ และการทดสอบระหว่างผู้ให้บริการแต่ละราย จะเปิดบริการได้ในเดือนกันยายน หลังจากทดสอบระบบเรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ต่อร่างประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้ความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ (International Mobile Telecommunication : IMT) ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ หรือใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3.9 จี เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดย กทช.ได้สรุปข้อคิดเห็นจากกลุ่มองค์กรภาคเอกชนต่าง ๆ ที่ดำเนินกิจการโทรคมนาคม ส่วนประเด็นการสรุปราคาเริ่มต้นประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ จะประชุมอีกครั้งเร็วๆนี้
องค์กรผู้บริโภค ไม่เห็นด้วยว่า การคงสิทธิ ย้ายค่าย ทำไมต้องเสียค่าใช้จ่าย 99 บาท มีที่มาอย่างไร? ช่วยแจกแจงด้วย ......เราขอคัดค้าน การเรียกเก็บ 99 บาท
ต้องไม่มีค่าใช้จ่าย หรือ ไม่เกิน 9 บาท ด้วยซ้ำไป...
นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ กทช. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบอัตราราคาคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ต อะบิลิตี้) ในราคา 99 บาท โดยมีเงื่อนไขการโอนเข้าระบบภายใน 3 วัน ซึ่งขณะนี้ระบบตรวจรับปริมาณการใช้งาน (เคลียร์ริ่งเฮ้าส์) ติดตั้งอุปกรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างทดสอบระบบใน 3 ระดับ คือ การทดสอบระบบโครงข่าย การทดสอบการเข้า-ออก ระบบเกตเวย์ และการทดสอบระหว่างผู้ให้บริการแต่ละราย จะเปิดบริการได้ในเดือนกันยายน หลังจากทดสอบระบบเรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ต่อร่างประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้ความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ (International Mobile Telecommunication : IMT) ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ หรือใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3.9 จี เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดย กทช.ได้สรุปข้อคิดเห็นจากกลุ่มองค์กรภาคเอกชนต่าง ๆ ที่ดำเนินกิจการโทรคมนาคม ส่วนประเด็นการสรุปราคาเริ่มต้นประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ จะประชุมอีกครั้งเร็วๆนี้
องค์กรผู้บริโภค ไม่เห็นด้วยว่า การคงสิทธิ ย้ายค่าย ทำไมต้องเสียค่าใช้จ่าย 99 บาท มีที่มาอย่างไร? ช่วยแจกแจงด้วย ......เราขอคัดค้าน การเรียกเก็บ 99 บาท
ต้องไม่มีค่าใช้จ่าย หรือ ไม่เกิน 9 บาท ด้วยซ้ำไป...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)