พ่อหลวงสอนใว้...พอเพียง คือ ความพอดี ของชีวิต

พ่อหลวงสอนใว้...พอเพียง คือ ความพอดี ของชีวิต
ขอให้พระคุ้มครองคนทำความ...ดี

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สวัสดีปีใหม่ 2553

ขอขอบคุณ  ขอให้ทุกท่าน  มีความสุข ตลอดปีใหม่  2553  และ  ตลอดไป


วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ฟ้าผ่า ข้อเท็จที่ควรรู้ รู้จักฟ้าผ่า

                         .... ประกาศ .... 
          เครือข่ายผู้บริโภค ทั่วประเทศ 
ขอประกาศเลิกใช้  ดีแทค หรือ ดีแตก  แล้วชีวิต จะเป็นสุข  ลองดูซิ ...ขอบอก...ขออวยพรให้เป็นสุข  ทุกคน


***   ฟ้าผ่า ข้อเท็จจริงที่ควรรู้  (ส่วนหนึ่ง)  ***



      ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการปลดปล่อย ประจุไฟฟ้าในอากาศ ฟ้าผ่าที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่เป็นการปลดปล่อยประจุออกจากเมฆฝนฟ้าคะนอง หรือที่นักอุตุนิยมวิทยา เรียกว่า"เมฆคิวมูโลนิมบัส" (Cumulonimbus)


     เมฆฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นก้อนเมฆใหญ่มหึมา บริเวณฐานเมฆ (ขอบล่าง) สูงจากพื้นราว 2 กิโลเมตร ส่วนยอดเมฆ (ขอบบน) อาจสูงได้ถึง 20 กิโลเมตร ภายในก้อนเมฆมีการไหลเวียนของกระแสอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้หยดน้ำและก้อนนำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้า


"ฟ้าผ่า" มีอย่างน้อย 4 แบบหลัก ได้แก่


1) ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ ฟ้าผ่าแบบนี้เกิดเกิดมากที่สุด และทำให้เมฆเปล่งแสงกระพริบที่คนไทยเราเรียกว่า "ฟ้าแลบ" นั่นเอง


2) ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง


3) ฟ้าผ่าจากฐานเมฆลงสู่พื้น เป็นการปลดปล่อยประจุลบออกจากก้อนเมฆ จึงเรียกว่า "ฟ้าผ่าแบบลบ" (Negative Lightning) ซึ่งเป็นฟ้าผ่าที่อันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งต่างๆที่อยู่บนพื้น โดยจะผ่าลงบริเวณ "ใต้เงา" ของเมฆฝนฟ้าคะนองเป็นหลัก
4) ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น เป็นการปลดปล่อยประจุบวกออกจากก้อนเมฆ จึงเรียกว่า "ฟ้าผ่าแบบบวก" (Positive Lightning) สามารผ่าได้ไกลจากก้อนเมฆได้ถึง 30 กิโลเมตร นั่นคือ แม้ท้องฟ้าเหนือศรีษะของเราจะดูปลอดโปร่ง แต่เราอาจถูกฟ้าผ่า (แบบบวก) ได้หากมีเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ห่างไกลออกไปในระยะ 30 กิโลมตร อันเป็นที่มาของคำว่า "ฟ้าผ่ากลางวันแสกๆ" ซึ่งเป็นฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นโดยเราไม่ได้คาดคิดนั่นเอง
ฟ้าผ่ากับผลกระทบต่อ "ชีวิตคน"
ข้อมูลจาก นพ.อดิศีกดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอกดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุว่า ผู้ถูกฟ้าผ่าประมาณ 1/3 หรือร้อยละ 30 เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ส่วนที่รอดจะมีความพิการถาวรจากการถูกทำลายระบบประสาท เช่น อัมพาต ตาบอด หูหนวก เป็นต้น
ไฟฟ้าจากฟ้าผ่า มีแรงดันไฟฟ้าสูงถึง 100 ล้านโวลต์ มีกระแสไฟฟ้าประมาณ 25-250 กิโลแอมแปร์ (KA) มีอุณหภูมิประมาณ 15,000 องศาเซลเซียส มีความเร็วประมาณ 1/10 ของความเร็วแสง สามารถวิ่งผ่านร่างกายด้วยเวลาเพียง 1/10,000 - 1/1,000 วินาที จึงส่งผลต่อการเต้นของหัวใจและการทำงานของระบบประสาท
สถิติความสูญเสียจากฟ้าผ่าในประเทศไทย ข้อมูลจากการนำเสนอข่าวประเด็นฟ้าผ่าในสื่อหนังสือพิมพ์ พบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 - มิถุนายน 2552 มีผู้เสียชีวิต 39 คน บาดเจ็บ 16 คน
               ข้อมูลจาก สบท.